messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง info_outline ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
วังยาง
อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม
Wang Yang Subdistrict Administrative Organization

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม
info สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอวังยาง



info_outline วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์



info_outline ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง (ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 241 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม โทรศัพท์/โทรสาร 042-577074 องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางมีเนื้อที่ คิดเป็นตารางกิโลเมตรเท่ากับ 111 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ - ทิศเหนือจดตำบลโคกสี อำเภอวังยาง - ทิศใต้จดลำน้ำก่ำ ตำบลก้านเหลือง และตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก - ทิศตะวันออกจดตำบลนาเลียง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก - ทิศตะวันตกจดตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง ที่ตั้งของหมู่บ้าน ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลวังยางประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง หมู่ที่ 6 บ้านสามแยก หมู่ที่ 2 บ้านหนองนางด่อน หมู่ที่ 7 บ้านนาขามใต้ หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะโน หมู่ที่ 8 บ้านนาสมบูรณ์ หมู่ที่ 4 บ้านนาขาม หมู่ที่ 9 บ้านใหม่ไทยเจริญ หมู่ที่ 5 บ้านหัวภูธร ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลหนองโพธิ์ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนองแหน หมู่ที่ 3 บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 2 บ้านวังโน หมู่ที่ 4 บ้านหนองโพธิ์ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบสูงและมีบางส่วนมีลักษณะลาดเอียง ดินมีลักษณะร่วนปนทรายสลับกับดินลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ มีการซึมซับและระบายน้ำใต้ดินเร็ว หน้าแล้งจะแห้งแล้งมาก แหล่งน้ำธรรมชาติจะแห้งขอด มีลำห้วยห้าสายและลำน้ำก่ำไหลผ่านทางทิศใต้ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ซึ่งในบางปีจะเกิดน้ำท่วมและบางปีแต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตตำบลวังยางไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 950 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑๐ องศา

ส่วนที่1
ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้าน ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลวังยางประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง หมู่ที่ 6 บ้านสามแยก หมู่ที่ 2 บ้านหนองนางด่อน หมู่ที่ 7 บ้านนาขามใต้ หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะโน หมู่ที่ 8 บ้านนาสมบูรณ์ หมู่ที่ 4 บ้านนาขาม หมู่ที่ 9 บ้านใหม่ไทยเจริญ หมู่ที่ 5 บ้านหัวภูธร ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลหนองโพธิ์ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนองแหน หมู่ที่ 3 บ้านโพนสวาง หมู่ที่ 2 บ้านวังโน หมู่ที่ 4 บ้านหนองโพธิ์ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง (ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 241 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม โทรศัพท์/โทรสาร 042-577074 องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางมีเนื้อที่ คิดเป็นตารางกิโลเมตรเท่ากับ 111 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ - ทิศเหนือจดตำบลโคกสี อำเภอวังยาง - ทิศใต้จดลำน้ำก่ำ ตำบลก้านเหลือง และตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก - ทิศตะวันออกจดตำบลนาเลียง และตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก - ทิศตะวันตกจดตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบสูงและมีบางส่วนมีลักษณะลาดเอียง ดินมีลักษณะร่วนปนทราย สลับกับดินลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ มีการซึมซับและระบายน้ำใต้ดินเร็ว หน้าแล้งจะแห้งแล้งมาก แหล่งน้ำธรรมชาติจะแห้งขอด มีลำห้วยห้าสายและลำน้ำก่ำไหลผ่านทางทิศใต้ 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตังแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บางครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ซึ่งในบางปีจะเกิดน้ำท่วมและบางปีแต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตตำบลวังยางไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 950 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑0 องศา 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 40% ดินลูกรังประมาณ 50 % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ % ลักษณะของแหล่งน้ำ ลักษณะของแหล่งน้ำน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วย/ลำน้ำ จำนวน 8 แห่ง ห้วยแสง 2. ห้วยหมากม่าน ห้วยเชิง 4. ห้วยไร่ ห้วยไผ่น้อย 6. ห้วยใหม่ ห้วยหินอ้ม 8. ลำน้ำก่ำ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย จำนวน 7 แห่ง - บ่อน้ำสาธารณะ จำนวน - แห่ง - บ่อบาดาลสาธารณะ จำนวน 4 แห่ง - ระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 24 แห่ง - สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสามแยก จำนวน 1 แห่ง - สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านหัวภูธร จำนวน 1 แห่ง 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ป่าไม้ในพื้นที่ตำบลวังยางจัดอยู่ในป่ามรสุมแล้ง ป่าลักษณะนี้เรียกว่าป่าแดงโดยทั่วไปป่าแดงจะเกิดตามบริเวณแห้งมาก เช่น ดินร่วน ทราย หรือลูกรัง ซึ่งมีธาตุอาหารน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินส่วนบน ซึ่งธรรมชาติกัดกร่อนไปมาก หลายแห่งจะเห็นดินชั้นดินลูกรังโผล่ขึ้นมาอยู่บริเวณผิวดิน การเกิดป่าแดงจะมีสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ อันเนื่องมาจากการเผาเศษไม้ใบไม้ในฤดูแล้ง เพื่อทำไร่ทำนา รวมทั้งการตัดไม้มากเกิดไปซึ่งถ้าการกระทำเหล่านี้ ดำเนินต่อไปในระยะเวลานานหลายปี ก็จะทำให้ป่าเหล่านี้เสื่อมโทรมลง และกลายเป็นป่าแคระหรือป่าแดงไปในที่สุด ในพื้นที่ตำบลวังยางเป็นป่าชนิดนี้พบมากและมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่พบในป่าชนิดนี้ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง และ ไม้ยางเป็นต้น ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประกอบด้วย เขตตำบลวังยาง ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง นายสุรชาติ พ่อครวงค์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านหนองนางด่อน นางสาวฉวีวรรณ วงค์ตาผา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านหนองสะโน นายณัฐพงษ์ เพชรดีคาย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านนาขาม นายพูลสวัสดิ์ แดงท่าขาม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านหัวภูธร นายวรเดช แก้วพิกุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านสามแยก นายวรวุฒิ จันทะคูณ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านนาขามใต้ นายประเดิม ลี้พล กำนันตำบลวังยาง หมู่ที่ 8 บ้านนาสมบูรณ์ นายรัศมี แสนสามารถ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านใหม่ไทยเจริญ นายภูษิต แก้วหนองสังข์ ผู้ใหญ่บ้าน เขตตำบลหนองโพธิ์ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนองแหน นายวิลัย นะคะรังสุ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านวังโน นายสินโท พ่อแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านโพนสวาง นายสุชาติ วงค์จำปา กำนันตำบลหนองโพธิ์ หมู่ที่ 4 บ้านหนองโพธิ์ นายสินโท พ่อแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน 2.2 การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 13 เขตเลือกตั้ง มีจำนวน 13 หมู่บ้าน ผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางมีผู้คณะบริหาร 4 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายเรืองศักดิ์ วงค์ศรีชา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายมิตรชัย พ่อสีชา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายวินัย พ่อครวงค์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายประณต สีแสด จำนวนสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง มี 26 คน แบ่งเป็น - ชายจำนวน 24 คน -หญิงจำนวน 2 คน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายประเสริฐ กวานเหียน รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายสายผล โคตรตาแสง เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ว่าที่ ร.ต.วุฒิชัย แพงจ่อย ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร ประชากร หมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลวังยางหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน โดยมีสถิติ ข้อมูลประชากร ดังนี้ 3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร ช่วงอายุ ต่ำกว่า 18 เป็นชาย = 883 คน เป็นหญิง =822 คน รวม 1,705 คน ช่วงอายุ 18 - 60 เป็นชาย = 2,464 คน เป็นหญิง =2,326 คน รวม 4,790 คน ช่วงอายุ 61 ขึ้นไป เป็นชาย = 277 คน เป็นหญิง = 344 คน รวม 550 คน

ประชากร


สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา การศึกษา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง - โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง - โรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง

การศึกษา




สาธารณสุข
4.2 สาธารณสุข ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง มีโรงพยาบาลจำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง มีบุคลากรทางการแพทย์และลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานบริการ อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และมีระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องทั่วถึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยาง ทั้ง 13 หมู่บ้าน 4.3 อาชญากรรม ตำบลวังยาง อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวังยาง ประกอบกับแต่ละหมู่บ้าน มีอาสาสมัครตำรวจบ้าน ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน คอยเป็นกำลังสำคัญในการแจ้งเบาะแสและข้อมูลข่าวสารให้กับทางราชการทราบอยู่ตลอดเวลาทำให้ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อยู่ในระดับน้อย 4.4 ยาเสพติด ตำบลวังยางประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จึงทำให้ไม่ค่อยมีปัญหายาเสพติด แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวังยางคอยสอดส่องดูแลและหาเบาะแสผู้กระทำผิดอยู่เป็นประจำ ประกอบกับแต่ละชุมชนมีอาสาสมัครตำรวจบ้าน ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน คอยเป็นกำลังสำคัญในการแจ้งเบาะแสและข้อมูลข่าวสารให้กับทางราชการทำให้ปัญหายาเสพติดเบาบางลงตามลำดับ 4.5 การสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประสานการรับบัตรผู้พิการ อีกทั้งยังมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและมีโครงการก่อสร้างซ่อมแซมบ้านช่วยเหลือผู้ยากจนยากไร้ รายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง เส้นทางคมนาคม เป็นถนนคอนกรีต ลาดยางปะปน และเป็นถนนลูกรัง 5.2 การไฟฟ้า ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านแต่ยังไม่ครบถ้วนทุกหลังคาเรือน 5.3 การประปา การประปาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางมีการใช้น้ำประปาหมู่บ้านครบ 13 หมู่บ้าน 5.4 โทรศัพท์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางมีการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ ทางโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ มีศูนย์ไปรษณีย์ชั่วคราว จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ตำบลวังยาง มีพื้นที่กว้างและอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพหลักคือทำนา อาชีพรองคือ การเลี้ยงสัตว์ สวนยางพารา ปลูกแตงกวา ปลูกถั่วลิสง เพาะปลูกเห็ด 6.2 การประมง เกษตรกรตำบลวังยางทำประมง โดยเลี้ยงปลาในบ่อ/สระ จำนวนครัวเรือนที่เลี้ยงปลา เลี้ยงเพื่อการบริโภคเองในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ ชนิดปลาที่เลี้ยงคือปลานิล ตะเพียน มีครัวเรือนจำนวนน้อยที่เลี้ยง เพื่อจำหน่าย 6.3 การปศุสัตว์ ตำบลวังยางมีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ โค–กระบือพื้นเมือง และการเลี้ยงโคขุนโดยมีบริษัทเข้ามาส่งเสริม มีการเลี้ยงสุกรเพื่อการจำหน่าย เลี้ยงเป็ดและไก่เลี้ยงแบบปล่อยในบ้านเรือนเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ ๖.๕ การท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางไม่มีแหล่งท่องเที่ยวหลัก มีแต่แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนประจำหมู่บ้าน แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ 6.4 อุตสาหกรรม ตำบลวังยางไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีแต่อุตสาหกรรมขนาดย่อมในครัวเรือน ในพื้นที่ตำบลเช่นทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในหมู่บ้าน 6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ - กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง - ปุ๋ยชีวภาพ - กลุ่มเพาะเห็ด - กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ - กลุ่มปลูกถั่วลิสง - กลุ่มเลี้ยงโคพื้นบ้าน - กลุ่มเลี้ยงโคขุน เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) 7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประกอบด้วย เขตตำบลวังยาง ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน เขตตำบลหนองโพธิ์ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ๘.๑ การนับถือศาสนา - ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 วัด 11 แห่ง สำนักสงฆ์ 4 แห่ง ๘.๒ ประเพณีและงานประจำปี - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม - ประเพณีบุญกองข้าว ประมาณเดือน มกราคม - ประเพณีบุญเดือนสาม ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ - ประเพณีบุญผะเหวด ประมาณเดือน เมษายน - ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน - ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือน สิงหาคม - ประเพณีบุญข้าวประดับดิน ประมาณเดือน กันยายน - ประเพณีบุญข้าวสาก ประมาณเดือน ตุลาคม - ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือน ตุลาคม - ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน 8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลวังยางได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน ทอผ้าพื้นเมือง วิธีการทอเสื่อจากต้นกก ภาษาถิ่น พูดภาษาอีสาน ภาษาลาว ภาษาไทกะเลิง ภาษาภูไท 8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตตำบลวังยางได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ ทรัพยากรธรรมชาติ 9.1 น้ำ น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และลำน้ำจากห้วย หนอง คลอง สำหรับน้ำใต้ดินบางหมู่บ้านมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้ 9.2 ป่าไม้ ป่าไม้ในพื้นที่ตำบลวังยางจัดอยู่ในป่ามรสุมแล้ง ป่าลักษณะนี้เรียกว่าป่าแดงโดยทั่วไปป่าแดงจะเกิดตามบริเวณแห้งมากเช่น ดินร่วน ทราย หรือลูกรัง มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พันธุ์ไม้ที่พบในป่าชนิดนี้ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้ยางเป็นต้น 9.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติในตำบลวังยาง ค่อนข้างจะสมบูรณ์ มีทั้ง ดิน น้ำ ป่าไม้ จะเห็นได้ จากเกษตรกรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

ส่วนที่2
ส่วนที่ 2 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2557-2560) 1.สรุปผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ และการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2560 1.1 สรุปสถานการณ์การพัฒนา การตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ การสรุปสถานการณ์การพัฒนาจากการดำเนินการที่ผ่านมา สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ ๑. การประเมินประสิทธิภาพของแผนพัฒนาเชิงคุณภาพ จากการสอบถามความพึงพอใจของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางได้ดำเนินการตามโครงการและกิจกรรมตามแผนพัฒนาตำบล ๒. เนื่องจากประชาชนมีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นอันดับแรก ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจึงเน้นหนักไปที่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางก็จะพยายามต่อไปที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของประชาชนให้ครบทุกด้าน ๓. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่ในแผนพัฒนาตำบลในปีที่ผ่านมาได้จัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรมไว้จำนวนมากครอบคลุมงานทุกด้านโดยไม่ได้จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนและไม่ได้คำนึงถึงรายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ ทำให้ในเชิงปริมาณการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติจึงไม่สามารถดำเนินการได้ครบ ๑๐๐ % 1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 134 โครงการ งบประมาณ 179,702,164 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2557 ได้จำนวน 93 โครงการ งบประมาณ 13,093,931บาท แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 124 โครงการ งบประมาณ 154,200,364 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้จำนวน 102 โครงการ งบประมาณ ๑๕,๗53,100 บาท และแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2559 ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 125 โครงการ งบประมาณ 145,984,624 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2559 ได้จำนวน 132 โครงการ งบประมาณ 25,248,880 บาท องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์น้อยกว่าร้อยละ 50 ของแผนพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยภาพรวมแล้วแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาท้องถิ่น เพราะมีโครงการที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นมากเกินไป แต่เนื่องจากมีงบประมาณจำกัดทำให้ไม่สามารถจะดำเนินการได้ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นได้ การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ในรอบปี พ.ศ.2559 ได้ยึดถือปฏิบัติตามแผนพัฒนาที่วางไว้โดยพิจารณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุดตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ และมีการประสานแผนงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจำแนกตามสาขาการพัฒนา ดังนี้ ด้านการพัฒนาด้านสังคม และสาธารณสุข 1. ส่งเสริม สนับสนุนด้านสาธารณสุข การพัฒนาและเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข็มแข็ง ส่งเสริมสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1.พัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและเหมาะสม การพัฒนาการบริหารงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน สนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และสืบทอดภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุน ระบบการศึกษาของชุมชนทุกระดับ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านนันทนาการ การแข่งขันกีฬา การออกกำลังกาย 6.การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนการศึกษา ด้านการพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร การพัฒนาส่งเสริม รณรงค์การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต และสร้างรายได้ให้เกษตรกร พัฒนารายได้และส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง ด้านการพัฒนาบ้านเมืองน่าอยู่ 1.ก่อสร้างปรับปรุงถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง ขยายผิวจราจร ท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ ท่อลอดเหลี่ยม 2.ให้มีขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ๒. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ ๒.๑ ผลที่ได้รับหรือผลที่สำคัญ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่มีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน และพัฒนาองค์กรให้เกิดความมั่งคงในการพัฒนาเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ผลที่ได้รับมีดังนี้ ๑. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละหมู่บ้าน เช่น ถนน ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ไม่มีการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพทุกคน ประชาชนได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณะภัยต่างๆ ขยะในชุมชนมีวิธีการจัดการที่ถูกต้อง ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุข ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนได้รับบริการจากงานบริการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วย ความสะดวก สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ผลที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้น มีดังนี้ ๑. ประชาชนมีถนนที่ได้มาตรฐานในการสัญจรไปมา ประชาชนมีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค มีการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนได้รับการฝึกอบรมอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับ ครัวเรือน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ๒.๒ ผลกระทบ องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ได้ดำเนินโครงการต่างๆตามแผนการดำเนินงาน ทำให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ได้รับการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพตามสถานะทางการเงินและการคลังของ อบต. ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่เป็นเรื่องงบประมาณที่ได้รับ ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ๓. สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไขปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ ปัญหา ๑. เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของระเบียบ กฎหมาย เท่าที่ควร ๒. เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีในการทำงานมีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ๓. หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอยู่เป็นจำนวนมาก ๔. ประชาชนมีความต้องการซึ่งความต้องการดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก ๕. ประชาชนยังไม่เข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จะสามารถดำเนินการได้ องค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถบรรจุโครงการ/กิจกรรมในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายได้ครบทุกโครงการ/กิจกรรมและครอบคลุมทุกยุทธศาสตร์การพัฒนา อุปสรรค ๑. การขาดความรู้เรื่องของระเบียบ กฎหมาย อีกทั้ง เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีในการทำงานมีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาของประชาชน ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินการได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งงบประมาณในการดำเนินการตามภารกิจแต่ละด้านบางรายการยังไม่เพียงพอและบางรายการมากเกินไป ทำให้ต้องโอนเพิ่ม โอนลด และตั้งจ่ายรายการใหม่ แนวทางการแก้ไข 1.ควรพิจารณาดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด เช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ๒. การก่อสร้างถนนเพิ่มขึ้นในเขตตำบล ทำให้การระบายน้ำได้ช้าเกิดน้ำท่วมขังในบางจุด ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางต้องเร่งก่อสร้างรางระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรพิจารณาจัดบริการประชาชนในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับ ความสะดวก รวดเร็วและถูกต้องในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลควรยิ้มแย้ม แจ่มใส และพูดจาสุภาพต่อประชาชน ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชน ควรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบล

info ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง